เทคนิคในการก่อสร้างต่างๆ
ReadyPlanet.com
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
bulletเช็ครายการสั่งซื้อ
bulletแจ้งการชำระค่าสินค้า
dot
หมวดหมู่สินค้า
dot
สี
dot
สินค้าแนะนำ
dot


วีว่าบอร์ด
ไม้อัดฟิล์มดำ
 อิฐมวลเบา คิวคอน
เกียงหวี เกรียงหวี
เกียงโป๊ว เกรียงโป๊ว


เทคนิคในการก่อสร้างต่างๆ

 เทคนิคในการก่อสร้างต่างๆ 


1.live load, finishing load -- live load ใช้ 150 หรือ 200 kg/sq.m. ส่วน finishing load ไม่น่าจะน้อยกว่า 100 kg/sq.m. (Topping 0.05 m. ประมาณ 120 kg/sq.m) เนื่องจากเป็นไปได้มากว่าพื้นเอง อาจจะหนาบางไม่เท่ากัน ระดับไม่ดี เจ้าของบ้านมีการเปลี่ยนแปลงเททับหลายครั้ง"

2. ค่า parameter ต่างๆ ได้กล่าวไว้แล้ว ค่านี้จะต่ำกว่าการออกแบบโครงสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากสภาพการควบคุมงานต่างกัน ซีเรียสนะน้อง คอนกรีตตรา farm house หาได้ไม่ยาก ส่วนเหล็กควรใช้เหล็ก SD- 30 เพราะหาซื้อไม่ยากและดัดง่ายกว่าเหล็ก SD-40 

การเลือกใช้ค่า parameter , คุณภาพ งาน ก่อสร้าง , ระยะเสา สามอย่างนี้ต้องสัมพันธ์กัน เช่นเจ้าของบ้านต้องการความโอ่โถง 7x7 แล้วใช้ผู้ รับเหมาไม่ค่อยดี คุณต้องตีค่า parameter ต่ำ ปรากฎว่าคานออกมาใหญ่มาก คุณก็ต้องชื้แจงไป ผมว่าถ้าจะสร้างกันแบบง่ายๆควรใช้ span คานน้อยๆ 4-5 เมตร ถ้าจะเอาโอ่โถงก็ต้องเลือกว่าจะใช้ผู้รับเหมาชั้นดีหรือจะเอาโครงสร้างยักษ์ 

3. การวาง ผังคาน ระยะเสาที่ง่ายและราคาถูกคือ 4 คูณ 4 ถ้ามากกว่านี้ทดลองซอยคานในลักษณะต่างๆเปรียบเทียบกันว่า มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เช่นคานแม่รับคานซอยที่ยาว 6-7 เมตร ซอย 3 ช่องดีกว่าสองช่อง เพราะอะไรให้ทาย ( ก. พื้นสำเร็จ ข. bending moment diagram ค.ถูกทุกข้อ) เทคนิคการวางผังคานอยู่ที่ประสบการ์ณครับ ผมเองถ้าเจอโครงสร้างใหญ่ก็ยังวางได้ไม่สวยเหมือนระดับป๋าๆท่าน 

4. เสาเข็ม ฐานราก มีแง่คิดสองแง่คือ 
4.1 หลักวิศวกรรมโครงสร้าง -- ใช้เข็มหน้าตัดเดียวกัน ยาวเท่ากันตลอดทั้งโครงสร้าง และพยายามให้น้ำหนักต่อต้นใกล้เคียงกันที่สุด เพื่อลด differential settlement 
4.2. ราคา - ฐานรากที่ราคาถูกที่สุดคือฐานรากเข็มต้นเดียว ขึ้นไปอีกหน่อยคือ 2 ต้น 4 ต้น และ 3 ต้น (ไม่อยากใช้เข็ม 3 ต้นแต่บางครั่งต้องใช้เพราะ เหตุผลทางโครงสร้างในข้อ 4.1 ) 
การเลือกใช้เข็ม และ ระบบผังคานจะสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้โครงสร้างที่ประหยัด สำหรับงานแรกคุณน่าจะลองทำ alternative สองสามแบบเปรียบเทียบกันดู 

5. การหาแรงในโครงสร้างโดยการวิเคราะห์ หรือใช้ค่า coefficience ตาม code คุณจะไม่มั่นใจว่าจะเลือกค่าไหนดี ควรจะวิเคราะห์จริงประกอบ ทำบ่อยๆจะพอเห็นแนวทางได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคานระยะ 4-3-4 uniform load ต่อเนื่องกัน(ไม่มี cantilever ช่วยถ่วงปลาย) ตัวกลาง 3 เมตรเป็นโมเมนต์ ลบทั้งคาน (อย่าทำตาม code ดุ่ยๆ) เหล็กบนวิ่งยาวไปเลย ไม่ต้องไปลดตรงกลางคาน ลองวิเคราะห์ดูหลายๆแบบสำหรับ load pattern แบบต่างๆ



6. ปลายคานถ้ามี cantilever ซัก 20 เปอร์เซนต์ของ exterior span ที่ต่อเนื่องกัน ช่วยลด M+ กลาง คาน และ M- ที่ปลายอีกด้านได้ 
7. ผมเคยแสดงความเห็นเรื่องเสา 15 ซม. ไปแล้ว ซึ่งบางครั้งน้ำหนักน้อยอาจจะใช้ได้ตามรายการคำนวน แต่ปัญหาจากการทำงานมีมาก เนื่องจากขนาดเล็ก เทคอนกรีตให้ได้คุณภาพที่ดียาก คิดว่าน่าจะใช้อย่างน้อย 20 ซม. 

8. เสาตอม่อควรจะใหญ่กว่าเสาจากชั้น 1 ไปชั้น 2 อยู่ 5 ซม. เช่น เสาชั้น 1 ขนาด 20x20 เสาตอม่อก็ใช้ 25x25 โดยวิ่งเหล็กตรงไม่ ต้องดุ้ง และจะได้ระยะ covering พอดี ประมาณ 5 cm. (ไป ดู code เรื่อง covering สำหรับโครงสร้างฝังดินนะ) การที่เหล็กวิ่งตรงได้จะแข็งแรงกว่า อีกทั้งหน้าตัดคอนกรีตที่เพิ่มขึ้นจะรับน้ำหนักชั้น 1 ได้พอดี(ในหลายๆกรณี ตัวเลขจะลงตัวประมาณนั้น) 

9. ที่มีปัญหามากคือเรื่องการทรุดตัวของ ชั้นดินกรุงเทพฯ ระวังบริเวณที่โครงสร้างคนละระบบมาเจอกัน เช่น 

9.1 รั้วทาวน์เฮาส์ตรงที่ก่อชนผนังบ้าน ไม่รู้วิศกรโครงการเค้าไปทำอะไรอยู่นะครับร้าวทั้งโครงการก็มี 

9.2 พื้นคอนกรีตลานจอดรถ ถ้าไม่แยกให้ดีมักโดน footing ง้างปูดขึ้นมา 

9.3 ช่อง shaft ข้างๆ เสาโรงรถ กรณีที่พื้นโรงรถเป็น slab on ground พี่ แกก่อผนังช่อง shaft วางบนพื้นเลย ไม่กี่ปีก็ร้าว (ควรจะมีคานรัดโคนผนัง และใช้เหล็กรับแรงดึงขึ้นไปฝากคานด้านบน) 

9.4 ผนังใต้คานชั้นล่างก่อวางบนดิน ก็ร้าวด้วยสาเหตุเดียวกัน (ตอนหล่อคาน ฝังเหล็กห้อยลงมารับก็ได้) 

9.5 ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ที่ออกจากบ้านมาวางบนดิน มักจะแตกจากการทรุดตัวของดิน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ แล้วโครงสร้างใช้เข็มยาว detail ตรงนี้ขอเสนอทาง เลือกสองทาง เช่น 

9.5.1 ท่อส้วมที่วางมาจากใต้พื้นอาคาร ให้ถ่ายน้ำหนักลงอาคารโดยใช้ HANGER (ชุบสังกะสีกันสนิมด้วย) พอมาถึงจุดที่จะเปลี่ยนมาวางบนดิน ต้องมี FLEX ที่ เห็นมีขายกันเป็นท่อดำๆให้ตัวได้ไม่มาก สำหรับถังบำบัด ผมใช้สองท่อนเลย 

9.5.2 ใต้ชักโครก ต่อท่อตรงลงมาโดยใช้ท่อสามนิ้ว แล้วสอด(แนวดิ่ง)ใส่ในท่อ 4 นิ้ว ระยะซ้อนกัน 40 ซม (สำหรับแถวบางพลีขอ 60 ซม.เนื่องจากอัตราส่วนการ ทรุดตัวสูงมาก) คือส่วนสามนิ้วยึดติดกับอาคาร ส่วน4นิ้ว วางบนดิน ให้มีระยะซ้อนที่จะค่อยๆน้อยลงเมื่อดินทรุด 

9.5.3 หรือวิธีอื่นๆที่คุณอยากจะแนะนำ 

10. รูปแบบโครงสร้างที่พึงหลีกเลี่ยง 

10.1 กันสาดแบบ CANTILEVER SLAB แบบไม่มีคาน ซึ่งตามหลักการแล้ว เหล็กแนวสั้นที่รับ MOMENT จะอยู่บน ส่วนเหล็กทางยาวจะอยู่ล่าง หลายครั้งระยะยื่นไม่มาก จะออกแบบได้ความหนาประมาณ 8-10 ซม. ที่สำคัญคือเหล็กสั้น ถ้าระดับผิดสองสามเซ็นติเมตร อาจจะกันสาดพับได้ง่ายๆนะครับ 

10.2 กันสาดแบบ CANTILEVER BEAM ยี่นจากเสาโดยไม่มีคานต่อเนื่องรับ (ใช้ กันตามตึกแถวที่มีชั้นลอยอยู่ข้างหลังทำให้ระดับพื้นชั้นสองสูงขึ้นไป ก็จะเอากันสาดมาไว้ที่ระดับพื้นชั้นลอย) ตามหลักการแล้ว MOMENT จะถ่ายลงเสา ซึ่งต้องออกแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นดั้งรับ MOMENT ตัวนี้ ตอนทำจริง คานตัวนี้ควรจะหล่อหลังจากที่ทำโครงสร้างพื้นชั้นสองเรียบร้อยแล้ว บางครั้งเกิดการผิดพลาดคือหล่อคานกันสาดก่อน และถอดแบบคานกันสาดก่อนทำโครงสร้างพื้นชั้นสอง เสาจะหักหรือเอียงออกมาครับ ถ้าจะยอมเปลืองคานอีกซักช่วงวิ่งมาจากพื้นชั้นลอย แน่นอนกว่า 

11. การใช้พื้นสำเร็จ ห้ามใช้บริเวณที่โดนน้ำ เฉพาะพื้นห้องน้ำ ระเบียงที่โดนน้ำ ใช้พื้นหล่อในที่ ผสมสารกันซึม (คือ PLASTICIZER นั่น เอง) 

12. ดาด ฟ้าควรจะหลีกเลี่ยงการใช้พื้นสำเร็จ เนื่องจากมีโอกาสรั่วมาก ถ้าจะทำต้องใช้เป็นพื้นหล่อในที่ น่าจะใช้หนา 12 ซม. เหล็กบนมากๆ กัน (หรือจริงๆแล้วคือคุมรอยแตก) รอยแตกจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือให้ดีทำหลังคาคลุม 

13. ไม่ควรปล่อยผนังบ้านตากแดด จะทำให้สะสมความร้อนไว้ ควรจะมีกันสาดต่างๆ หรือปลูกต้นไม้บังแดด

 




บทความ

Promotion ประจำสัปดาห์ 22-28 กรกฎาคม 2567
ลอนคู่ VS ลอนเล็ก แบบไหนใช้ดีกว่ากัน
ปูนเสือ มอร์ตาร์ ฉาบสำเร็จทั่วไป: ฉาบง่าย เนียนสวย จบไว
ปูนฉาบอิฐมวลเบา ทีพีไอ M 210: ฉาบง่าย เนียนสวย จบไว
ปูนฉาบสำเร็จรูป ทีพีไอ M 200: ฉาบง่าย เนียนสวย จบไว
ไม้อัดยาง หน้าดำ: วัสดุก่อสร้างราคาประหยัด คุณภาพดี
ปูนก่ออิฐมวลเบา ตราจิงโจ้ ม่วง (40กก.): ของดีสำหรับงานก่อสร้าง!
ปูนเสือ มอร์ตาร์ ฉาบอิฐมวลเบา: ทาปูนง่าย ฉาบเนียน สวย
อิฐมวลเบาไทคอน: ทางเลือกใหม่สำหรับงานก่อสร้างที่เหนือกว่า!
อิฐมวลเบาคิวคอน: วัสดุก่อสร้างแห่งอนาคต ยกระดับบ้านของคุณให้เหนือกว่า
ปูนกาวกระเบื้องจระเข้เขียว: เพื่อนซี้ช่างปูกระเบื้อง งานไหนก็เอาอยู่!
ทับหลังและเสาเอ็น องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้าง
ผ้าใบฟ้าขาว วัสดุก่อสร้างอเนกประสงค์ที่คุ้มค่า
น้ำมันสน ตัวช่วยงานก่อสร้างที่ทรงพลัง
ทินเนอร์ ตัวทำละลายสารพัดประโยชน์
แผ่นพื้นก่อสร้าง งานก่อสร้างที่รวดเร็ว แข็งแรง ทนทาน และประหยัด
ลงเสาเข็ม รากฐานที่มั่นคงสำหรับบ้านของคุณ
เตรียมความพร้อมก่อนสร้างไซต์งานก่อสร้าง
ยาแนวกระเบื้อง วิธีการยาแนวแบบละเอียด
ปูกระเบื้อง คู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับมือใหม่
ผนังเบา ทางเลือกใหม่ในการกั้นห้อง เปลี่ยนบ้านให้สวย น่าอยู่ ฟังก์ชั่นครบ
เหล็กกล่อง VS เหล็กตัวซี: เลือกแบบไหนดีนะ? ️
ตัวเลือกโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน และใช้งานหลากหลาย
เหล็กแป๊บเหลี่ยม 6 หุน x 6 หุน x 1.2 มม.: ตัวเลือกโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน และใช้งานหลากหลาย
ตัวเลือกโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน และใช้งานหลากหลาย
เสริมโครงสร้างแข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย
เสริมโครงสร้าง ทนทาน แข็งแรง ปลอดภัย
เสริมโครงสร้างเบา แต่แกร่ง ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งแรง! เหล็กเส้นกลม (เบา) 15 มิล (5 หุน)
เสริมโครงสร้างเบา แต่แกร่ง ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งแรง!
เสริมโครงสร้าง ทนทาน แข็งแรง ปลอดภัย เหล็กเส้นกลม SR24
เสริมโครงสร้างแข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย
เสริมโครงสร้าง ทนทาน แข็งแรง ปลอดภัย
เพื่อนร่วมทางงานโครงสร้าง ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งแรง!
เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต SD30 (เต็ม) 25 มม. เพื่อนซี้โครงสร้างบ้านแก!
บล็อกปูหญ้า : เพื่อนใหม่สุดคูลสำหรับสวนของคุณ!
ฝ้าเพดาน เติมเต็มความงาม และฟังก์ชันการใช้งานให้กับบ้านของคุณ
อิฐบล็อก : เพื่อนใหม่สุดคูลสำหรับบ้านของคุณ!
เพื่อนใหม่สุดคูลสำหรับบ้านของคุณ!
ทางเลือกใหม่สำหรับการถ่ายเทอากาศในบ้าน
ตัวช่วยจัดการน้ำเสียในบ้านของคุณ
เพื่อนใหม่สุดคูลสำหรับบ้านของคุณ!
ฐานรากมั่นคงสำหรับโครงสร้างของคุณ
บล็อกปูพื้นตัวหนอน: ของดีบอกต่อ!
เพิ่มลูกเล่น สร้างบรรยากาศ ให้บ้านของคุณ
เพื่อนแท้โครงสร้าง รับน้ำหนัก มั่นคง ปลอดภัย
แผ่นปูทางเท้า 40x40 ซม. หนา 4 ซม.: เสริมสวย ทนทาน คุ้มค่า
เพื่อนแท้ระบบน้ำในบ้าน!
เพื่อนแท้ช่างก่อสร้าง งานไว เงินในกระเป๋า!
ปรับระดับพื้นก่อนปูกระเบื้อง เทคนิคการเตรียมพื้นให้เรียบเนียน
รอยร้าวบนผนังปูน สัญญาณเตือนภัยที่ไม่ควรมองข้าม
การสกิมโค้ท เคล็ดลับเนรมิตผนังเรียบเนียนไร้ที่ติ
กลยุทธ์พิชิตงานก่อแบบมืออาชีพ ผลลัพธ์แข็งแรง ทนทาน สวยงาม
งานฉาบ เคล็ดลับและเทคนิคสู่ผลงานอันสมบูรณ์แบบ
เพื่อนแท้ช่าง เจาะรูได้ทุกวัสดุ!
คู่หูช่างมืออาชีพ สยบทุกงานตัดเหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อนซี้ช่างเจ๋ง ๆ งาน DIY สุดมันส์!
เพื่อนซี้ช่างไม้ ช่างก่อสร้าง งาน DIY ทุกคน!
เพื่อนซี้ช่างมุงหลังคา
เพื่อนซี้ช่างไม้
เพื่อนซี้ช่างก่อสร้าง
คู่มือสำหรับมือใหม่ วิธีการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง
มุงหลังคาสบาย ๆ ทนทาน ยาวนาน
เปลี่ยนหลังคาบ้านให้สวย ทน เย็น ประหยัด!
คู่มือฉบับมือใหม่ เตรียมตัวก่อนรีโนเวทบ้าน
เนรมิตหลังคาสวย ปัง ทน เก๋!
ท่อ PVC ทางเลือกคุ้มค่าสำหรับงานระบบประปา
วัสดุมุงหลังคาคุณภาพ เหมาะกับงานหลากหลาย
ฮาร์ดแวร์วัสดุก่อสร้าง: อุปกรณ์คู่ใจช่าง ก่อสร้างบ้านให้สำเร็จ
มุงหลังคาสวย ทน ประหยัด!
เพื่อนซี้ช่างหลังคา มุงหลังคาสวย ทน ประหยัด!
ท่อใยหิน เพื่อนซี้ช่างประปา ทนทาน ปลอดภัย คุ้มค่า!
กำลังมองหารั้วที่สวยงาม แข็งแรง ปลอดภัย อยู่ใช่ไหม?
ฮาร์ดแวร์วัสดุก่อสร้าง: อุปกรณ์คู่ใจช่าง ยกระดับงานก่อสร้างให้เหนือระดับ
จัดการสายไฟให้เป็นระเบียบ สวยงาม ปลอดภัย ง่ายๆ กับกิ๊บตอกสายไฟ!
ตะปูสังกะสีตัวจิ๋ว เพื่อนซี้ช่างหลังคาบ้านคุณ
มีหรือยัง ? ตัวช่วยงานก่อสร้างที่แข็งแรง มั่นคง ปลอดภัย
เหล็กก่อสร้างบ้าน คุณภาพดี : รากฐานที่มั่นคง สู่บ้านที่ปลอดภัย
ปูน... หัวใจสำคัญของงานก่อสร้าง
ผู้ช่วยงานก่อสร้างที่แข็งแรง ทนทาน ยึดแน่นทุกสภาวะ
เคล็ด(ไม่)ลับ แบ่งสัดส่วนในห้องแบบง่าย
เผยพื้นที่ "มาแรง" ซื้อบ้านปี 2567 : เทรนด์ใหม่ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
ไอเดียปูบล็อกทางเดิน สร้างเสน่ห์ให้สวนสวย
ไอเดียงานประดิษฐ์จากปูน สุดคูล ทำง่าย สวยงาม
เนรมิตสวนสวย ด้วยหินเกล็ด หินโม่ และแผ่นพื้น: เคล็ดลับจัดสวน DIY สไตล์ไม่ซ้ำใคร
โตเจริญพรทุบราคาพิเศษ 💥ทรายหยาบ, ทรายกันน้ำท่วม ถุงละ 28 บาทเท่านั้น ราคาฉ่ำๆ ต้อนรับหน้าฝน ⛈️🌧
หน้าฝนดูแลบ้านให้พร้อม ด้วยวัสดุก่อสร้างจาก โตเจริญพร
ฝนตกไม่หวั่น! เทคนิคการก่อสร้างบ้านให้ปลอดภัยในฤดูฝน
ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่สามารถรับมือได้
ไอเดียแปลงผักแบบประหยัดงบ ปลูกเอง กินเอง ดีต่อสุขภาพ
รวมสาเหตุน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน และวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง!
เทคนิคเลือกสีทาผนัง ให้ปัง และคูล!
เคยทราบกันไหม? ทำไมเราไม่ใช้ทรายทะเลสร้างบ้าน
ปลั๊ก-สวิตช์ไฟ ในห้องน่าจะสูงสักเท่าไร article
วิธีการฉาบปูน article
ทรายละเอียดมีลักษณะอย่างไร article
แหล่งทรายในประเทศไทย
การแบ่งประเภทของสีต่างๆ article
วัสดุก่อสร้าง คืออะไร และ แบ่งได้กี่ประเภท ? article
การจัดการกับปัญหา รั่ว...ซึม...ร้าว