การจัดการกับปัญหา รั่ว...ซึม...ร้าว
ReadyPlanet.com
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
bulletเช็ครายการสั่งซื้อ
bulletแจ้งการชำระค่าสินค้า
dot
สินค้าในตะกร้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
หมวดหมู่สินค้า
dot
สี
dot
สินค้าแนะนำ
dot


วีว่าบอร์ด
ไม้อัดฟิล์มดำ
 อิฐมวลเบา คิวคอน
เกียงหวี เกรียงหวี
เกียงโป๊ว เกรียงโป๊ว


การจัดการกับปัญหา รั่ว...ซึม...ร้าว

 การจัดการกับปัญหา รั่ว ซึม ร้าว ไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่หลายท่านวิตกอีกแล้ว เพราะปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์ต่างๆ 

ที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา รั่ว ซึม ร้าว เหล่านี้ได้ไม่ยากเลย โดยทั่วไปเรามักพบเห็นการแตกร้าวเกิดขึ้นได้ตาม 
ผนังบ้าน ห้องน้ำ บ้างก็เกิดตามรอยต่อระหว่างผนัง หรือ แนวคานบ้าน วงกบประตู หน้าต่าง หลังคา บริเวณที่มีการขัง 
ของน้ำ หรือน้ำไหลผ่านซึ่งมักจะมีปัญหาน้ำรั่ว ซึม ตามมาเป็นของคู่กัน

กรณีเกิดรอยแตกร้าว
รอยแตกลายงา (Hairline Crack) สามารถป้องกันและซ่อมแซมได้ด้วยการฉาบ วัสดุ ประเภท ปูนทราย สำหรับฉาบบาง (LANKO 101 ครีมผสม ซีเมนต์ สำหรับฉาบผิวบาง) ซึ่งจะช่วยให้ผนังเนียบเรียบสวยงาม 
- รอยแตกร้าวที่มีขนาดกว้างมากกว่า 1 มม. ตามผนัง กำแพง และสามารถเห็นได้ชัดเจน ซึ่งทั้งนี้ต้องเป็นรอยแตกร้าวที่หยุดนิ่งแล้ว สามารถใช้วัสดุสำหรับซ่อมประเภทพัตตี้หรือหมันโป้ว (LANKO 107) กรณีร่องกว้างกว่า 5 มม. สามารถใช้ ซีเมนต์ ชนิดไม่หดตัว (LANKO 662) อุดได้ ในกรณีรอยร้าวยังไม่หยุดหรือเกิดจากการยืดหดตัว การเคลื่อนไหวของพื้นผิว แนะนำให้ใช้วัสดุชนิดยิดหยุ่นประเภทโพลียูรีเทน (LANKO 603) เพื่อซ่อมแซม รอยร้าวนั้น วัสดุทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถทาสีทับได้

กรณีเกิดการรั่ว ซึม 
การจัดการปัญหารั่ว ซึม นั้น อันดับแรกต้องคำนึงถึงสาเหตุที่มาของน้ำ ซึ่งมักพบว่าเกิดจากรอยแตกร้าวเสมอ และเมื่อพบต้นตอของการรั่ว ซึมแล้วเราก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี 
- ปัญหารั่ว ซึม จากดาดฟ้า หลังคา ผนังภายนอก หลังจากการซ่อมรอยร้าวด้วยวัสดุที่เหมาะสมแล้ว ควรทาด้วยวัสดุกันซึมประเภทอะครีลิก ที่ยืดหยุ่น และทนแดดได้ เช่น LANKO 451 อะครีลิกทากันซึม 
- ปัญหาน้ำรั่วซึมจากผนัง วงกบหน้าต่าง สามารถใช้ซีลแลนท์ชนิดอะครีลิก (LANKO 612) อะครีลิกสำหรับอุดรอยต่อในบริเวณที่อยู่ภายในอาคาร และใช้วัสดุอุดรอยต่อประเภทโพลียูรีเทน (LANKO 603 ) กับรอยร้าวที่อยู่ภายนอก และสามารถทาสีทับหน้าได้ 
- ปัญหาน้ำรั่ว ซึม ในห้องน้ำ รางน้ำ ส่วนใหญ่ปัญหามักเกิดขึ้นตามรอยต่อชน และพื้นที่เจาะรูระบายน้ำ การป้องกันควรทาพื้นราบทั้งห้องน้ำด้วยวัสดุกันซึมประเภทปูนทราย ผิวหน้าแข็ง (LANKO 222 ปูนทรายกันซึม ผสมเสร็จ ผิวหน้าแข็ง) และใช้วัสดุทากันซึมที่ยืดหยุ่นได้ (LANKO 226 ปูนทรายทากันซึมชนิดยืดหยุ่น) ทาบริเวณขอบ พื้นที่ชนกำแพงโดยรอบห้องน้ำ และบริเวณที่มีรอยต่อ เจาะท่อระบายน้ำ จากนั้นจึงทำการปูกระเบื้องด้วยปูนกาวติดกระเบื้อง ที่เหมาะสมกับขนาดและประเภทของกระเบื้อง โดยสามารถศึกษาชนิดและประเภทของปูนกาวติดกระเบื้องได้จากบริษัทผู้ผลิตและ จำหน่าย 
ปูนกาวติดกระเบื้องชั้นนำ (Davco)
การปูกระเบื้องเซรามิก
การใช้ปูนมรายในการปู กระเบื้อง แบบเดิมๆ สามารถใช้ได้เฉพาะกระเบื้องรุ่นเก่าที่มีการดูดซึมน้ำสูง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก (8" x 8") แต่ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมใช้กระเบื้องขนาดใหญ่ขึ้นเช่น 24" x 24" (60 x 60 cm) และกระเบื้องส่วนใหญ่จะเป็นชนิดดูดซึมน้ำต่ำ ขอบตัดปูชิด ซึ่งปูนธรรมดาไม่สามารถยึดติดกระเบื้องได้หรือมีอายุการใช้งานสั้นไม่เกิน 1 ปี 
ปูนกาวเป็นซีเมนต์ผสมเสร็จที่เพิ่มสาร Polymer ช่วยในการยึดเกาะกระเบื้องที่ดูดซึมน้ำต่ำได้ดี เพิ่มเวลาในการจัดแต่งกระเบื้องให้พอเหมาะไม่เร็วไม่ช้าเกินไป ความเหนียวพอดีไม่ทำให้กระเบื้องไหลในขณะปู (ผนัง) บางชนิดผสมสารเพื่อเพิ่มความต้านทานเมื่อแช่น้ำไม่ให้หลุดล่อน และเพิ่มคุณสมบัติยืดหยุ่นเพื่อใช้งานในการปูผนังเบาที่อ่อนตัวได้เล็กน้อย ค่าใช้จ่ายของปูนกาวจะเท่ากันหรืออาจจะถูกกว่าการใช้ปูนทรายเสียอีก เนื่องจากปูนทรายจะตองปูหนาประมาณ 2-18 ซม. ในขณะที่ปูกาวทั่วไปจะใช้เกรียงหวีปาดเป็นร่องบนพื้นราบ จึงมีความหนาเพียง 3-5 มม. แต่มีแรงยึดเกาะที่ดี และที่สำคัญ การปูหนาแบบเดิมทำให้ปรับระดับได้ยาก ต้องอาศักทักษะสูงและมีโอกาสที่กระเบื้องจะยุบตัวเนื่องจากการหดตัวของปูนทรายใต้กระเบื้องในภายหลัง ทำให้กระเบื้องไม่เรียบเสมอกัน 
DAVCO ผู้ผลิตปูนกาวรายใหญ่ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ปูนกาวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในภูมิภาคนี้และตอบสนองการ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผลิตใน 
ทวีปเอเชีย โดยมีข้อแนะนำการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. ตรวจสอบชนิดของกระเบื้อง ถ้าเป็นขนาดไม่เกิน 12" x 12" และมีการดูดซึมน้ำปานกลางให้เลือกใช้ ชนิดมาตรฐาน TTB 
2. ถ้ากระเบื้องขนาดใหญ่ขึ้นจนถึง 60 x 60 ซม. หรือหินอ่อน หินแกรนิตที่ต้องปูหนา เลือกใช้ Super TTB 
3. กระเบื้องในข้อ 2 เมื่อใช้ภานนอกอาคารที่รองรับการใช้งานหนักแนะนำให้ใช้ SE-7 ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มแรงยึดเกาะและปูพื้นที่มากกว่ากาวซีเมนต์ทั่วไปที่ขนาด ถุงเท่ากัน 
4. กรณีพื้นผิวต้องแช่น้ำเสมอๆ หรือติดบนวัสดุอ่อนตัวได้เล็กน้อย เช่น แผ่นวีว่า แผ่นบิปซัม จะต้องผสมน้ำยา Davelastic เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะ การทนน้ำ และความยืดหยุ่น 
5. กรณีต้องการความสะดวกรวดเร็วในการปูกระเบื้อง 8" x 8" บนผนังภายใน แนะนำให้ใช้ Flexible CTA ปูนกาวสำเร็จรูปพร้อมใช้ เนื้อครีมสีขาว สามารถใช้ปูกระเบื้องแก้วบนผนังเคาน์เตอร์ครัวหรือในผนังห้องน้ำได้ดี 
6. กรณีจำเป็นต้องปูพื้นหนาเนื่องจากมิได้ปรับระดับพื้นไว้ อาจใช้ปูนทรายธรรมดาผสม Davelastic เพื่อปรับปรุงคุณภาพปูนทรายให้คล้ายปูนกาวสำเร็จรูป 
7. การ ยาแนว เลือกใช้ Davco Sanitized Color Grout ที่ผสม Sanitized สารป้องกันเชื้อราคุณภาพสูงจาก USA ซึ่งมีใช้ในผลิตภัณฑ์หลายชนิดในประเทศไทย 
8. กรณีปูนยาแนวต้องสัมผัสกับสารเคมี สิ่งสกปรกต่างๆ สามารถเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันสารเคมีด้วยน้ำยา Grout Cure เพื่อเปลี่ยนกาวยาแนวธรรมดาให้คล้ายEpoxy ยาแนวได้ 

 




บทความ

รวมสาเหตุน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน และวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง!
เทคนิคเลือกสีทาผนัง ให้ปัง และคูล!
เคยทราบกันไหม? ทำไมเราไม่ใช้ทรายทะเลสร้างบ้าน
ปลั๊ก-สวิตช์ไฟ ในห้องน่าจะสูงสักเท่าไร article
วิธีการฉาบปูน article
ทรายละเอียดมีลักษณะอย่างไร article
แหล่งทรายในประเทศไทย
เทคนิคในการก่อสร้างต่างๆ
การแบ่งประเภทของสีต่างๆ article
วัสดุก่อสร้าง คืออะไร และ แบ่งได้กี่ประเภท ? article
ความรู้ด้านการนำเข้าวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ article
โครงการก่อสร้างนานาชนิด มีระบบโครงสร้างการบริหารอย่างไร? article