โครงการก่อสร้างนานาชนิด มีระบบโครงสร้างการบริหารอย่างไร?
ReadyPlanet.com
dot
ค้นหาสินค้า


  [Help]
dot
bulletเช็ครายการสั่งซื้อ
bulletแจ้งการชำระค่าสินค้า
dot
สินค้าในตะกร้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
หมวดหมู่สินค้า
dot
สี
dot
สินค้าแนะนำ
dot


วีว่าบอร์ด
ไม้อัดฟิล์มดำ
 อิฐมวลเบา คิวคอน
เกียงหวี เกรียงหวี
เกียงโป๊ว เกรียงโป๊ว


โครงการก่อสร้างนานาชนิด มีระบบโครงสร้างการบริหารอย่างไร? article

 โครงการก่อสร้างนานาชนิด มีระบบโครงสร้างการบริหารอย่างไร?


การก่อสร้างในบ้านเราตอนนี้มีหลายขนาดหลาย ชนิด บ้างก็ใหญ่บ้างก็เล็ก บ้างก็ยาก ย้างก็ง่าย การวางโครงสร้างก ารบริหารแต่เริ่มแรก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น หากวางผิดไปก็จะเป็น "ขี่ข้างจับตั๊กแตน" หรือไม่ก็ อาจจะเป็น "ขี่ตั๊กแตนจับช้าง" ไปได้ จึงขอรวบรวมโครงสร้างบริหารประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 

-โครง สร้างแบบธรรมดา ๆ เป็นโครงสร้างการสร้างบ้านหรืออาคารเล็ก ๆ ไม่มีอะไรวุ่นวายยุ่งยาก คือเจ้าของว่าจ้างทั้งผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างโดยตรง และให้ผู้ออกแบบช่วยดูแลงานก่อสร้างเป็นครั้งคราว
-โครงสร้างแบบข้าราชการ เริ่มมีการว่าจ้างผู้ควบคุมงานมาคุมงานหากผู้ควบคุมงานมีปัญหาก็ถาม ผู้ออกแบบโดยตรง
-โครงสร้างแบบเอกชนทั่วไป เริ่มมีที่ปรึกษาเข้ามา และว่าจ้างผู้รับเหมาแยกส่วนจากกันเพื่อลด ค่าดำเนินการ-กำไร-ภาษี ที่ซ้ำซ้อน ตอนนี้อาจจะว่าจ้าง Consultant หรือ C.M. เข้ามาแทนที่ผู้ควบคุมงานแล้ว เพราะต้องการการบริหารที่ดีขึ้น หรือต้องการผู้แก้ปัญหาทางเทคนิคขั้นสูงขึ้น (C.P.M. = Construction Process Management ซึ่งเป็นผู้บริหารการก่อสร้างชนิดหนึ่งที่เน้นหนักด้าน "วิธีกรรมในการก่อสร้าง" ส่วนคำว่า C.B.M. = Construction Business Management ซึ่งเป็น C.M. ที่ทำหน้าที่เน้นหนักด้าน "ธุรกิจการก่อสร้าง")
-โครงการใหญ่ที่ต้องการควบคุมแต่เริ่มแรก เริ่มมีการแยกระยะเวลาและการบริหารออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนธุรกิจ และส่วนการก่อสร้าง เจ้าของงานอาจเป็น C.B.M. (Construction Business Management) เอง ทำหน้าที่จัดการด้านธุรกิจ-ภาษี-บัญชี-การเงิน-การตลาด-ฯลฯ ส่วนการก่อสร้างนั้นยังคงเหมือนกับโครงสร้างที่ 3
-โครงสร้างแบบจ้างบริหารการก่อสร้างทั้งโครงการ (อาจเรียกได้ว่าเป็นการบริหารโครงการ) เพราะทั้งผู้บริหารการก่อสร้างจะเข้าไปประสานงานในระบบธุรกิจ และควบคุมในส่วนการก่อสร้าง ให้ C.B.M. และ C.P.M. เป็นองค์กรเดียวกัน
-โครงสร้างแบบริหารเต็มรูปแบบ (Full C.M.) เปรียบเสมือนหนึ่งเป็นการจัดตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เฉพาะกิจ (บริษัทรับเหมา ๆ ทั่วไปประกอบด้วย 2 ส่วนคือเถ้าแก่ทำหน้าที่เรื่องหาเงิน-หางาน วิศวกรหรือเทคนิเชียนทำหน้าที่ผลิตงานและจ่ายเงิน) โดยเจ้าของโครงการในที่นี้ทำหน้าที่เถ้าแก่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน และผู้บริหารการก่อสร้างทำหน้าที่ด้านผลิตผลงาน ทั้งคู่จะแบ่งผลประโยชน์กันและปิดบริษัทเฉพาะกิจ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ โครงสร้างระบบ Full C.M. จะลดต้นทุนได้มาก ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ผู้รับเหมาขาแคลน แต่มีข้อจำกัดสำคัญที่ว่า เจ้าของโครงการและ C.M. จะต้องรู้จักสนิทสนมกัน ต้องไว้ใจกันมากและต้องทำงานด้วยกันได้ ไม่เช่นนั้นจะเหมือนบริษัทที่หุ้นส่วนทะเลาะกัน ทำให้บริษัทล้มละลาย ….และโครงการก็ล่มสลายตาม

 




บทความ

รวมสาเหตุน้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้าน และวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง!
เทคนิคเลือกสีทาผนัง ให้ปัง และคูล!
เคยทราบกันไหม? ทำไมเราไม่ใช้ทรายทะเลสร้างบ้าน
ปลั๊ก-สวิตช์ไฟ ในห้องน่าจะสูงสักเท่าไร article
วิธีการฉาบปูน article
ทรายละเอียดมีลักษณะอย่างไร article
แหล่งทรายในประเทศไทย
เทคนิคในการก่อสร้างต่างๆ
การแบ่งประเภทของสีต่างๆ article
วัสดุก่อสร้าง คืออะไร และ แบ่งได้กี่ประเภท ? article
การจัดการกับปัญหา รั่ว...ซึม...ร้าว
ความรู้ด้านการนำเข้าวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ article